เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย Accuniq all Model

เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย

Body Composition Analyzer

เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย คืออะไร?

เครื่องวัดองค์ประกอบของร่างกาย หรือ Body Composition Analyzer เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย ด้วยหลักการอ่านค่าจากความต้านทานของกระแสไฟฟ้าต่อเซลล์ในร่างกาย โดยใช้หลักการ BIA (Bioelectrical Impedance Analysis) ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ใช้ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

 

Bioelectrical Impedance Analysis ( BIA ) คือ

เป็นวิธีการวัดองค์ประกอบของร่างกายจากความต้านทานไฟฟ้า โดยใช้กระแสไฟฟ้าระดับต่ำ (น้อยกว่า 1 มิลลิแอมแปร์) ผ่านร่างกาย ด้วยความเร็วที่เหมาะสมและปลอดภัย สัญญาณไฟฟ้าจะไหลผ่านกล้ามเนื้อ ไขมัน และของเหลวในร่างกาย โดยที่ส่วนของกระดูก ไขมัน จะนำไฟฟ้าไม่ดี และมีแรงต้านทานต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าสูง ในขณะที่เลือด อวัยวะภายใน และกล้ามเนื้อจะนำไฟฟ้าได้ดีและมีแรงต้านทานต่ำ และใช้ข้อมูลอายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง ร่วมกับค่าความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ตรวจได้มาประเมิณผลเป็นองค์ประกอบของร่างกาย

อย่างไรก็ตาม วิธี BIA ก็ไม่เหมาะกับ

  • ผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ เพราะกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยไปอาจรบกวนการทำงานของเครื่องได้
  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ เพราะกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยไปอาจรบกวนเด็กในครรภ์ได้
  • บุคคลที่ผ่าตัดมีเหล็กโลหะในร่างกาย

การจำแนกประเภท เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย

เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย คลื่นความถี่ แบบมือจับ

จากรูปที่1 จะเห็นได้ว่า เครื่องวัด 1 คลื่นความถี่ แบบมือจับ จะวัดคลื่นกระแสไฟฟ้า แขนข้างหนึ่งไปยังแขนอีกข้างหนึ่งเท่านั้น ส่วนขาจะใช้การคำนวณโดยประมาณ ส่วนใหญ่จะใช้ในบ้าน

 

เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย1 คลื่นความถี่ แบบยืน

จากรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่า เครื่องวัด 1 คลื่นความถี่ แบบยืน จะใช้วัดคลื่นไฟฟ้าจาก ขาข้างหนึ่งไปยังขาอีกข้างหนึ่ง ในส่วนลำตัว และ แขนใช้การคำนวณ โดยประมาณ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในบ้าน

 

เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย 2 คลื่นความถี่ แบบยืน

จากรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่า เครื่องวัด 2 คลื่นความถี่ ( Dual Frequency ) แบบยืน จะวัดคลื่นกระแสไฟฟ้าจาก ขาข้างหนึ่งไปสู่ขาอีกข้างหนึ่งและลำตัว ส่วนแขนจะใช้การคำนวณ โดยประมาณ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ใน ฟิตเนส หรือคลีนิก แต่ไม่แม่นยำมากนักเนื่องจากใช้การ คำนวณ โดยประมาณ

 

เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย 3 คลื่นความถี่ แบบยืนและมือจับ

จากรูปที่ 4 จะเห็นได้ว่า เครื่องที่วัด 3 คลื่นความถี่ ขึ้นไป ( Multi Frequency ) จะวัดคลื่นกระแสไฟฟ้าจากแขนข้างหนึ่งไปสู่แขนอีกข้างหนึ่ง , ขาข้างหนึ่งไปสู่ขาข้างหนึ่ง และ แขนไปสู่ขา เป็นการวัดแยกแต่ละส่วน แขนซ้าย แขนขวา ลำตัว ขาซ้าย ขาขวา เป็นการวัดผลจริงทั้งหมดอย่างละเอียด ไม่มีการคำนวณโดยการประมาณ จึงมีความแม่นยำสูง

ทำไมต้อง Accuniq ?

( แอค-คู-นิก )

อันดับ 1 เครื่องวัดวิเคราะห์ร่างกาย

  • เริ่มต้นการวัดผลแบบ Multi frequency (เริ่มต้น 3 คลื่นความถี่ขึ้นไป)
  • วัดค่าละเอียดได้มากกว่าทุกแบรนด์
  • แม่นยำเที่ยงตรงมากที่สุด 95% เมื่อเทียบกับเครื่อง DEXA ( เครื่องฉายรังษีX พลังงานต่ำ )
  • ทุกรุ่นวิเคราะห์ผลแบบแยกส่วนเเขนซ้าย แขนขวา ขาซ้าย ขาขวา และลำตัว ทำให้ได้ค่าที่ครบถ้วน
  • วัดผลได้ตั้งแต่อายุ 1-99 ปี ประเมินผลทั้งเด็กและผู้ใหญ่
  • วัดผลเชิงลึก เช่น พื้นที่ไขมันช่องท้อง ภาวะอ้วนลงพุงและภาวะบวมน้ำ เพื่อจัดการปัญหาได้ครบทุกมิติ
  • ตรวจวัดกล้ามเนื้ออย่างละเอียด ทั้ง Soft lean mass และ Skeletal Muscle Mass จึงทำให้ประเมินปริมาณกล้ามเนื้อได้อย่างแม่นยำ
  • ประเมินประเภทรูปร่างให้ละเอียดมากถึง 20 รูปแบบ เพื่อการวิเคราะห์รูปร่างอย่างชัดเจน
  • ใช้ร่วมกับ App ใน Android & IOS สามารถบันทึกผล แข่งขัน และแชร์ข้อมูลผ่าน Social Media ได้

 

Good Benefits

  • ดึงดูดให้ผู้เข้าร่วมงานมาสนใจบูธและกิจกรรมของแบรนด์
  • ใช้ในการวิจัย
  • สร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เหนือกว่าด้วยเครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายอันดับ 1
  • สร้างความน่าเชื่อถือมั่นใจผลการวิเคราะห์ร่างกายจากเครื่องที่ใช้ในโรงพยาบาลชั้นนำ
  • จัดกิจกรรมคืนกำไรให้กับลูกค้า
  • ช่วยในการพรีเซลส์ออกบูธจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย
  • เป็นสวัสดิการให้กับพนักงาน
  • สร้างความน่าเชื่อถือมั่นใจผลการวิเคราะห์ร่างกายจากเครื่องที่ใช้ในโรงพยาบาลชั้นนำ
  • ช่วยในการเปิดตัวสินค้าประชาสัมพันธ์สินค้าแบรนด์
  • ตรวจสุขภาพประจำปี
  • ติดตามพัฒนาการด้านสุขภาพของผู้ใช้
  • ช่วยในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

 

Best Service

  • ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ ด้วยประสบการณ์กว่าสิบปี
  • เมื่อเครื่องมีปัญหามีช่องทางการติดต่อหลากหลายช่องทาง สะดวกรวดเร็ว
  • มีเจ้าหน้าที่สแตนด์บายให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
  • มีมาตรฐานการติดตามสถานะการซ่อมอย่างเป็นระบบ โดยช่างผู้ชำนาญการ
  • ธุรกิจไม่สะดุด กรณีต้องส่งเครื่องกลับมาซ่อม มีเครื่องสำรองให้ใช้ระหว่างซ่อม
เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย Accuniq BC380 Brochure

Accuniq Body Composition Analyzer

เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย Accuniq วัดค่าอะไรได้บ้าง?

น้ำหนัก (Weight)
ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index – BMI)

มวลไขมัน (Body Fat / Fat mass)
เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Percentage Body Fat – PBF)
ระดับไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat level)
ปริมาณพื้นที่ของไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat Area)
มวลไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat Mass)
มวลไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat Mass)

ระดับความอ้วน (Obesity Degree)
เส้นรอบท้อง (Abdominal Circumference – AC)
เส้นรอบเอวต่อรอบสะโพก (Waist to Hip Ratio – WHR)

มวลร่างกายไร้ไขมัน (Fat Free Mass – FFM)
ปริมาณแร่ธาตุในกระดูก (Mineral
มวลกล้ามเนื้อ (Soft Lean Mass – SLM)
มวลกล้ามเนื้อติดกระดูก (Skeletal Muscle Mass – SMM)
โปรตีน (Protein)

ปริมาณน้ำในร่างกาย (Total Body Water – TBW)
สามารถวิเคราะห์ไขมัน กล้ามเนื้อ และสภาวะบวมน้ำ (ECW Ratio) แบบแยกส่วน (Segmental Analysis) แขนซ้าย แขนขวา ขาซ้าย ขาขวาและลำตัว
สามารถวิเคราะห์น้ำในเซลล์ (ICW) น้ำนอกเซลล์ (ECW) และสภาวะบวมน้ำ (ECW Ratio)

 

การประเมินผลภาพรวม (Comprehensive Evaluation)
ประเภทรูปร่าง (Body Type)
อายุทางชีวภาพหรืออายุเปรียบเทียบ (Biological Age)
พลังงานที่ร่างกายต้องการขั้นพื้นฐาน (Basal Metabolic Rate – BMR)
พลังงานที่ร่างกายใช้ทั้งหมดต่อวัน เมื่อรวมกิจกรรมต่างๆ (Total Daily Energy Expenditure – TDEE)
มวลเซลส์ในร่างกาย (Body Cell Mass)

สามารถประเมินความสมดุลของร่างกาย (Body Balance Assessment)

ความรู้เกี่ยวกับค่าต่างๆ ในร่างกาย

น้ำหนัก เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ( Body Composition Analyzer )

1. น้ำหนัก ( Weight )

เราจะสามารถแยกได้ว่าน้ำหนักตัวของเราที่ชั่งได้ประกอบด้วยค่าต่างๆ อะไรบ้าง เวลาจะลดหรือเพิ่ม จะได้พัฒนาตั้งเป้าหมายได้ตรงจุด ตรงวัตถุประสงค์ เช่น ลดไขมัน เพิ่มกล้ามเนื้อ เป็นต้น

น้ำในร่างกาย เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ( Body Composition Analyzer )

2. ปริมาณน้ำในร่างกาย ( Body Water )

ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ในเลือดมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 92 ในสมองมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 85 ถ้าพิจารณาในแต่ละเซลล์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 60 การที่เราสามารถวัดปริมาณน้ำในร่างกาย แยกกับส่วนประกอบอื่นๆได้ จะทำให้เราสามารถบอกได้ว่างร่างกายเราขาดน้ำ หรือร่างกายเราบวมน้ำหรือไม่? น้ำมีหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร ออกซิเจน เพื่อไปหล่อเลี้ยงเซลล์และขนส่งของเสียไปกำจัดและยังรักษาอุณหภูมิให้คงที่ หากลดน้ำหนักผิดวิธีโดยสูญเสียน้ำ แต่ไม่ลดไขมัน นอกจากจะมีผอมแล้วจะทำให้ร่างกายพังอีกด้วย

ไขมัน เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ( Body Composition Analyzer )

3. เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ( Body Fat% )

Subcutaneous Fat – ไขมันใต้ผิวหนัง 
เมื่อร่างกายได้รับไขมันเข้ามาในปริมาณมากจนไม่สามารถเผาผลาญได้ทัน ไขมันก็จะเข้ามาสะสมอยู่ภายในช่องท้องเป็นอันดับแรก และอันดับต่อมาก็จะเป็นชั้นใต้ผิวหนัง ซึ่งก็คือชั้นที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี่เอง ภายในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง สามารถแบ่งออกได้มากถึง 3 ชั้น ซึ่งก็คือ

 

  • ชั้นไขมันใต้ผิวหนังด้านบน เป็นชั้นไขมันที่อยู่ติดผิวหนังมากที่สุด (หากเกิดอุบัติเหตุที่กรีดลงผิวหนังเข้าไปลึก จะเห็นไขมันสีขาวซึ่งก็คือไขมันใต้ผิวหนังด้านบนสุด) หน้าที่ของมัน คือการห่อหุ้มต่อมเหงื่อและรากขน โดยจะมีเส้นเลือดและเส้นประสาทแทรกอยู่ในไขมันชั้นนี้และทำหน้าที่หล่อเลี้ยงต่อมต่าง ๆ

 

  • ชั้นไขมันใต้ผิวหนังด้านกลาง มักจะพบเจออยู่ตามแขน ขา หรือส่วนที่ผิวหนังหนา ๆ แต่ถ้าหากเป็นผิวบาง เช่น หนังตา สันจมูก จะไม่มีชั้นไขมันใต้ผิวหนังในชั้นนี้

 

  • ชั้นไขมันใต้ผิวหนังด้านล่าง จะรองรับการกระแทกต่าง ๆ โดยชั้นนี้จะมีลักษณะเป็นพังผืด และชั้นไขมันที่จับตัวกันเป็นก้อนกลม ถ้าหากมีมากเกินไปก็จะทำให้เกิด “เซลลูไลท์” หรือลักษณะผิวแบบเปลือกส้ม มักจะพบได้ตามต้นขา และหน้าท้อง

 

ไขมันแทรกระหว่างกล้ามเนื้อ 2 มัด ( Inter-muscular fat )
จะพบในคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน และ เบาหวาน รวมถึงคนที่อ้วนมากๆ

 

ไขมันแทรกภายในกล้ามเนื้อ ( Intra-muscular Fat )
จะพบเช่นเดียวกับกลุ่มแรก เพียงแต่อาการหนักกว่า
ส่วนในสัตว์ก็จะพบได้ในเนื้อวัว โดยเฉพาะเนื้อโกเบบีฟ หรือ โคมัตซึซากะ

ไขมันในช่องท้อง เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ( Body Composition Analyzer )

4. ไขมันที่เกาะบริเวณอวัยวะภายในช่องท้อง ( Visceral Fat )

Visceral Fat หรือ ไขมันในช่องท้อง คือไขมันส่วนที่อันตรายที่สุด เป็นมหันตภัยเงียบที่หลายคนไม่เฉลียวใจ ไขมันชนิดนี้จะเกาะตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ทำให้รอบเอวหนา ลามไปถึงหน้าท้องที่ป่องยื่น เป็นส่วนแรกที่ไขมันจะมาสะสมในร่างกาย แต่ใช้เป็นไขมันสำรองอันดับสุดท้าย ทำให้เกิดสารพัดโรค รวมภึงภาวะภูมิแพ้เมื่อไขมันในช่องท้องสะสมปริมาณมาก สิ่งที่เกิดขึ้นคือตับจะเผาผลาญแล้วส่งกระแสเลือดกลายเป็นไขมัน LDL ซึ่งอาจทำให้อุดตันเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองหรือหัวใจไม่ได้ คนที่มีไขมันช่องท้องเยอะมีความเสี่ยงที่จะทำให้สุขภาพเสื่อม เช่น ตับและตับอ่อนทำงานไม่เต็มที่ การทำงานของฮอร์โมนรวน นำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า Syndrome X ที่ประกอบด้วยความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง น้ำตาลในเลือดสูง และคอเลสเตอรอล HDL ต่ำ อันเป็นปฐมบทของโรคเบาหวาน ผลการวิจัยระบุคนที่มีไขมันสะสมในช่องท้องมากมีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 3.5 เท่า

 

การลดไขมันส่วนนี้ ต้องควบคุมอาหาร และ ออกกำลังกายแบบแอโรบิค เพื่อให้ร่างกายเอาไขมันมาใช้เป็นพลังงานให้มากที่สุด

แต่ปัญหาที่พบก็คือ ถ้าร่างกายใช้ไขมันส่วนนี้เป็นพลังงาน เซลล์ไขมันส่วนนี้จะปล่อยสารกลุ่ม allergenic ออกมาได้เช่นกัน ส่งผลให้บางคนเป็นไข้

ในส่วนของคนผอมมากๆ แต่ที่มีพุงป่องออกมา จะเกิดจากการที่ไม่เคยบริหารกล้ามเนื้อท้องส่วนที่รั้งอวัยวะภายใน ที่เรียกว่า “Transverse abdominis” ซึ่งสามารถฝึกได้ง่ายๆ โดยการเขม่วพุงเข้าไปให้ได้มากที่สุด หรือที่เรียกว่า ” Stomach Vacuum”

กล้ามเนื้อ เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ( Body Composition Analyzer )

5. มวลกล้ามเนื้อ (Muscle)

ระบบกล้ามเนื้อ เป็นระบบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์สามารถเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่างๆ ทั้งเดิน วิ่ง เหยียด ยืดแขน และอื่นๆ ได้นั้นต้องอาศัยการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและระบบกระดูกให้ทำหน้าที่ร่วมกันเสมอ กล้ามเนื้อจึงเปรียบได้กับเครื่องยนต์ซึ่งเป็นแหล่งของพลังงานกล ใช้ในการเคลื่อนไหว ของร่างกาย

ประเภทของกล้ามเนื้อ

1.กล้ามเนื้อลาย(striated muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับกระดูก มีลักษณะเป็นแถบลายขาวๆดำๆสลับกัน เซลล์ของกล้ามเนื้อลายจะประกอบเป็นมัดยาวๆเซลล์หนึ่งมีหลานนิวเคลียส การทำงานของกล้ามเนื้อประเภทนี้ถูกควบคุมด้วยระบบประสาทส่วนกลาง สามารถให้บังคับทำงานตามคำสั่งได้ จึงเรียกกล้ามเนื้อประเภทนี่อีกชื่อหนึ่งว่า กล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ(voluntary muscle)ซึ่งได้แก่ กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา

2.กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) เป็นเซลล์กล้ามเนื้อที่มีลักษณะแบนยาวแหลมหัวแหลมท้ายแหลม ไม่มีลาย ภายในเซลล์มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลางกล้ามเนื้อ ประเภทนี้จะควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายใน เช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ กล้ามเนื้อประเภทนี้ถูกควบคมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ร่างกายไม่สามารถควบคุมการทำงานได้ เพราะไม่ได้อยู่ในอำนาจของจิตใจ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (involuntary muscle) เซลล์กล้ามเนื้อประเภทนี้ ได้แก่ ผนังกระเพราะอาหาร ผนังลำไส้ กล้ามเนื้อหูรูดที่ม่านตา

3.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) พบเฉพาะบริเวณหัวใจเท่านั้น เซลล์กล้ามเนื้อประเภทนี้มีลักษณะเป็นลายพาดขวาง และมีนิวเคลียสหลายอันเหมือนกล้ามเนื้อลาย แต่เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ และถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ

กล้ามเนื้อมีหน้าสร้างความแข็งแรง ช่วยให้มีการยืดหยุ่นเมื่อมีการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังช่วยให้มีสุขภาพและรูปร่างที่ดี รูปร่างที่สมส่วนควรมีกล้ามเนื้อไม่น้อยเกินไป เนื่องจากกล้ามเนื้อเป็นเสมือนแหล่งใช้พลังงาน เมื่อกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น การใช้พลังงานก็จะเพิ่มขึ้น ช่วยให้การเผาผลาญระดับไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณไขมันลดลง ส่งผลให้น้ำหนักลดลง

โปรตีน เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ( Body Composition Analyzer )

6. โปรตีน ( Protein )

โปรตีน คือสารอาหารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับร่างกาย มีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและช่วยในการทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อ และผิวหนัง แม้ร่างกายของคนเราจะสามารถสร้างกรดอะมิโนได้เอง 9 ชนิด แต่ก็ยังจำเป็นต้องได้รับกรดอะมิโนอีก 11 ชนิดเพิ่มเติมจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ถั่วชนิดต่าง ๆ รวมถึงข้าวและธัญพืช

เมื่อแยกน้ำออกจากกล้ามเนื้อ เราจะได้โปรตีน หากจะสร้างกล้ามเนื้อให้มากขึ้นและแข็งแรง จำเป็นต้องรับประทานโปรตีนให้มากขึ้น

กระดูก เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ( Body Composition Analyzer )

7. มวลกระดูก ( Bone Mass )

กระดูกของมนุษย์ทำหน้าที่พยุงและป้องกันอวัยวะภายในของร่างกายตลอดจนเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อประกอบด้วยโครงกระดูกมากกว่า 200 ชิ้น

โครงกระดูกมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้

ค้ำจุนละรักษารูปร่างให้ทรงตัวอยู่ได้
ป้องกันอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กระดูกซี่โครงป้องกันหัวใจ ปอด และตับกะโหลกศีรษะป้องกันเนื้อเยื่อสมอง เป็นต้น
เป็นที่ยึดเกาะของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเยื่อช่วยในการเคลื่อนที่
สร้างเม็ดเลือด ไขกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกจะทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
เป็นแหล่งสะสมสำคัญของธาตุแคลเซียมละฟอสฟอรัส

กระดูกประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม แมกนิเซียม ฟอสเฟต เป็นส่วนค้ำยันโครงร่าง หากละเลยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม จะส่งผลให้กระดูกมีแนวโน้มสูญเสียความหนาแน่นนำไปสู่โรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะได้

ค่าดัชนีมวลกาย BMI เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ( Body Composition Analyzer )

8. ค่าดัชนีมวลกาย ( Body Mass Index : BMI )

ค่าความหนาของร่างกาย ใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนหรือผอมในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งคำณวนได้จาก การใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมและหารด้วยส่วนสูงที่วัดเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ดังสูตรต่อไปนี้

สูตรคำนวณหาดัชนีมวลกาย
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
ส่วนสูง (เมตร)2

ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม และสูง 155 ซม.
ดัชนีมวลกาย (BMI) =     60
(1.55)*2
ดัชนีมวลกาย (BMI) = 25.39

ค่าดัชนีมวลกาย BMR เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ( Body Composition Analyzer )

9. อัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐาน ( Basal Metabolic Rate : BMR )

 

BMR แปลแบบให้เข้าใจง่ายๆ คือ พลังงานที่เราต้องการเพื่อ ” รอดชีวิต ”

TDEE = Total Daily Energy Expenditure คือพลังงานที่ใช้ทั้งหมดในชีวิตประจำวัน แปลให้เข้าใจง่ายๆ คือ พลังงานที่เราต้องการเพื่อ ” ใช้ชีวิต ”

เราควรกินไม่ต่ำกว่า BMR แต่ไม่ควรเกิน TDEE จะทำให้เผาผลาญพลังงานหมดในแต่ละวัน

วิธีคำนวณการเผาผลาญพลังงาน Basal Metabolic Rate (BMR) สูตรคำนวณอัตราการเผาผลาญของร่างกายในชีวิตประจำวันคือ

สำหรับผู้ชาย : BMR = 66 + (13.7 x น้ำหนักตัวเป็น กก.) + (5 x ส่วนสูงเป็น ซม.) – (6.8 x อายุ)

สำหรับผู้หญิง : BMR = 665 + (9.6 x น้ำหนักตัวเป็น กก.) + (1.8 x ส่วนสูงเป็น ซม.) – (4.7 x อายุ)

จะสังเกตได้ว่าน้ำหนัก ส่วนสูงและอายุมีผลต่อการเผาผลาญพลังงาน เมื่อหาค่า BMR (Basal Metabolic Rate) มาแล้วเราก็จะสามารถรู้ได้ว่าเรามีการการเผาผลาญพลังงานโดยไม่ทำกิจกรรมอะไรเลย แต่หากเรามีกิจกรรมอย่างออกกำลังกายจะมีการเผาผลาญพลังงาน เพิ่มขึ้นตามกิจกรรมที่เราออกกำลังกาย

เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ( Body Composition Analyzer )

10. อายุเทียบ ( Body Age )

วัดอัตราการเผาผลาญพลังงานขณะอยู่นิ่งๆ  ซึ่งอัตราการเผาผลาญพลังงานขณะอยู่นิ่งๆ จะคำนวณจากน้ำหนักเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และเปอร์เซ็นต์กล้ามเนื้อโครงร่าง เพื่อใช้ในการพิจารณาว่าอายุร่างกายมาก หรือน้อยกว่าอายุโดยเฉลี่ยที่แท้จริง

ลักษณะรูปร่าง เครื่องวัดวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย ( Body Composition Analyzer )

11. ลักษณะรูปร่าง (Body Type)

ประโยชน์สำคัญจากการแบ่งคนตามรูปร่าง ก็เพื่อกำหนดเทคนิคในการฝึกร่างกาย ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับคนรูปร่างแต่ละแบบ ผนวกเข้ากับโปรแกรมโภชนาการที่เหมาะสมกับแต่ละรูปร่าง เพื่อมุ่งไปสู่การปรับปรุงรูปร่างเดิมที่ได้รับการถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมให้ดีขึ้น คนที่มีรูปร่างต่างกัน จะมีเป้าหมายในการฝึกเพาะกายที่ต่างกัน จึงทำให้เทคนิคที่จะนำมาใช้ในการฝึกต่างกันตามไปด้วย